ข่าว

 "เกษตรผสมผสาน... สู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร


           นานนับศตวรรษที่เส้นทางกสิกรรมบ้านเรานิยมปลูกพืชในลักษณะ “เชิงเดี่ยว” หรือการปลูกพืชเพียงชนิดเดียวบนพื้นที่ขนาดใหญ่ อาทิ ไร่อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ และพืชเหล่านั้นเมื่อ เกิดศัตรูพืชหรือโรคระบาดก็สร้างความเสียหายหมดทั้งแปลง หรือแม้แต่ระบบเศรษฐกิจ เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำลง ก็ต้องขาดทุนแบกภาระหนี้สินที่ปลดเปลื้องด้วยความยากลำบาก    

          ปัจจุบันเกษตรกรเกิดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น หลายรายหันหลังให้กับวิถีชีวิตของพืชเชิงเดี่ยว พร้อมยึดแนวพระราชดำรัสองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่หรือเกษตรผสมผสานส่งผลให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ปลดลดภาระหนี้ได้ สร้างความผาสุขให้กับชีวิตอย่างยั่งยืน 

 

 

 "เกษตรผสมผสาน... สู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติยั่งยืน

 

         ระบบเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่ เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นระบบที่นำไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี ซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น

          ดังนั้น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนจึงได้พยายามศึกษาและพัฒนาการแปรเปลี่ยนพื้นที่นาหรือไร่นาบางส่วนมาดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายๆ ปลูกพืชสวน (ไม้ผล พืชผัก) การเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงปลาทดแทนรายได้จากการปลูกข้าวหรือพืชไร่ที่อาจเสียหาย จากสภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม

 

 "เกษตรผสมผสาน... สู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติยั่งยืน

 

          ระบบเกษตรผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ลักษณะของการดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูป รูปแบบใดก็ตามยังมีความหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียดเชิงวิชาการในด้านนี้ยังมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาด้านกิจกรรมเดี่ยวๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือปลาก็ตาม ฉะนั้น การกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตร ผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะยึดการแบ่งตามวิธีการดำเนินการลักษณะพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนินทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งพอที่กล่าวได้ดังนี้คือ 

         1.ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก

         2.ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก การเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก

         3.ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก การเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก และ

         4.ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลัก ร่วมกับการเกษตร ทุกแขนง อาจประกอบด้วยการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า ปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์

 

 "เกษตรผสมผสาน... สู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติยั่งยืน

 

         สวนป่าระบบนี้มุ่งหวังที่จะให้เป็นตัวกลางเพื่อผ่อนคลายความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมกับความต้องการป่าไม้ เพื่อควบคุมสิ่ง แวดล้อมให้สามารถดำเนินควบคู่กันไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง ระบบวนเกษตรที่ดีควรสามารถเพิ่มการซึมซับน้ำ รักษาน้ำใต้ดิน ลดการสูญ เสียดิน ลักษณะพันธุ์พืชที่ใช้ควรเป็นทรงพุ่มเพื่อลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดินสามารถรักษาสภาพดุลย์ ของสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกร่วม เช่น บังร่มเงา พายุ ฝน

         อีกทั้ง ควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิให้ดี พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรมีรากลึกพอที่สามารถหมุน เวียนธาตุอาหารในระดับที่ลึกขึ้นมาสู่บริเวณผิวดิน เป็นประโยชน์ต่อพืชรากตื้นที่ปลูกร่วม

        ทว่า โดยรวมทั้งระบบควรให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรหลายด้าน เช่น ผลผลิตในรูปอาหาร ยารักษาโรค ไม้ฟืน ไม้สร้างบ้านและรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นระบบที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีปลูกได้หลายสภาพแวดล้อม และง่ายต่อการปฏิบัติในสภาพของเกษตรกร

     

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ