เรื่องของการถ่ายทำโดย Drone โดย ธีระพงษ์ ทรงพระ และ วชิรวัฒน์ อังศุพานิชย์ ( DGI PRODUCTION)

Drone ที่ใช้ในการถ่ายทำและมีคุณภาพสูงให้การทำงานที่แม่นยำและปลอดภัยนั้นควรมีผู้คุม 2 คน ต่อ 1 ลำ คือ ผู้คุมตัวลำ และ ผู้คุมมุมภาพ

การที่จะเป็นผู้คุม Drone หรือ ผู้คุมมุมภาพ นั้นควรมีความสามารถในการบังคับ  Drone ทั้งสองคน และคุมมุมภาพได้ทั้งสองคนเช่นกัน ควรสลับเปลียนหน้าที่กันได้ทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นเวลาคับขันก็ตามจะแบ่งการบังคับ Drone ได้สองหน้าที่คือ

1.ผู้บังคับDrone
ผู้บังคับ Drone นั้นผู้บังคับจะมีหน้าที่มองตัวลำในขณะทำการบินจึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นมุมภาพได้อย่างละเอียดเท่ากับคนที่คุมมุมภาพอยู่ฉนั้นผู้ที่คุมตัวลำDroneอยู่จึงต้องคอยฟังคำสั่งของคนที่คุมมุมภาพอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น สูง ต่ำ ซ้าย ขวา เดินหน้า  ถอยหลัง รวมถึงความเร็วในการบิน แต่ก็สามารถไม่ทำตามคำสั่งของผู้ที่คุมภาพได้ตลอดเวลาเช่นกัน เนื่องด้วยความไม่ปลอดภัย หรือเกิดเหตุไม่คาดคิด ก็สามารถยกเลิกการบิน หรือลงจอดได้ทันทีโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

2.ผู้คุมมุมภาพ
ผู้คุมมุมภาพนั้นจะมีหน้าที่ในการทำตามคำสั่งของผู้กำกับโดยจะต้องคอยพูดคุยสื่อสารกับผู้บังคับ Drone ให้ไปตามทิศทางเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ ในขณะที่คุมมุมภาพอยู่นั้น ผู้คุมมุมภาพจะต้องมองที่จอภาพไปด้วยและมองตัวลำที่ทำการบินอยู่ไปด้วยเช่นกันเพื่อความปลอดภัยหากเกิดเหตุผู้บังคับ Drone เกิดหลงทิศทางหน้าหลังของตัวลำอาจเกิดขึ้นในกรณีบินไกลหรือสูงจนทำให้ผู้บังคับ Drone หลงทิศทางหน้าหลังของตัวลำในกรณีนี้ผู้บังคับมุมภาพจะสามารถรู้ได้จากการมองที่จอภาพว่าด้านไหนของตัวลำคือด้านหน้าฉนั้นอาจต้องสลับหน้าที่มาเป็นผู้คุม Drone แทนในการนำ Drone ลงจอด เพราะเหตุนี้ผู้คุมมุมภาพต้องมีความสามารถในการบังคับ Drone เช่นกัน

หลักการในการทำงานโดยใช้ Drone

1.การพูดคุยก่อนเริ่มงานเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเป็นการพูดคุยถึงความต้องการมุมภาพที่ผู้กำกับต้องการ พอทราบถึงความต้องการของผู้กำกับแล้วเราก็ต้องประเมิณวิธีการทำงานของทีม

2.Locations เราควรรู้หรือถ้ามีโอกาสได้ไปดู Locations ล่วงหน้าได้จะเป็นการดีในการวางแผนการบินหรือการทำงานของเรามาก เพราะนักบินจะได้ดูเรื่องของลายที่จะบินว่าจะบินไปทิศทางไหนมีสิ่งกีดขวางลายการบินหรือไม่หรือมีเสาที่ส่งสัญญาณรบกวนคลื่นบังคับหรือไม่ การดู Locations ควรไปในเวลาเดียวกันของเวลาที่จะถ่ายทำจริงเพราะจะสามารถดูช่วงเวลา แสงแดด แรงลมได้ว่าเหมาะสมที่จะบินหรือแสงแดดแยงสายตาบดบังการควบคุม Drone หรือไม่เพราะว่าหากมีปัญหาเราสามารถแจ้งผู้กำกับเพื่อที่จะได้ปรึกษาหาทางแก้ไขได้ล่วงหน้าก่อนการถ่ายจริง

3.วันถ่ายจริงควรเช็คอุปกรณ์ให้พร้อมและทำหน้าที่ของตนเองให้ออกมาดีที่สุดหรือใกล้เคียงกับความต้องการของผู้กำกับให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

4.หากเป็นผู้จ้าง Drone มาใช้ในการถ่ายทำควรทราบ เช่น

- สอบถามเวลาในการบินจากทีม Drone ให้แน่ชัดว่าบินได้นานกี่นาทีต่อครั้งที่ขึ้นบิน เพราะ Drone แต่ละประเภทแต่ละขนาดระยะเวลาในการบินจะไม่เท่ากัน ซึ่งผู้จ้างควรเลือกจ้าง Drone ให้เหมาะกับงานที่ต้องการใช้งาน ควรรับฟังปัญหาเหตุผลของทีม Drone หากทีม Drone ไม่สามารถบินตามที่ผู้จ้างต้องการได้อาจเพราะเหตุด้านเกินความสามารถหรือด้านความปลอดภัยควรปรึกษาหาทางแก้ไข

- ขออนุญาตสถานที่หรือเจ้าของที่บริเวณนั้นๆก่อนทำการบินทุกครั้ง


ธีระพงษ์ ทรงพระ และ วชิรวัฒน์ อังศุพานิชย์