Logistic Management for Young Executive Program


สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรมธุรกิจการค้า, ธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ, TIFFA
สวัสดีครับผู้ติดตามความรู้
วันเสาร์ที่ 30 กรกฏาคม 2554 ผมได้รับเกียรติให้ไปเเลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารธุรกิจโลจิสติกส์ ให้กับผู้เข้าอบรมโครงการ Logistic Management for Young Executive Program ซึ่งร่วมจัดโดย กรมธุรกิจการค้าสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ และ นิด้า
หัวข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและยากมาก ให้การที่จะใช้ทั้งศาสตร์เเละศิลป์มาบริหารเรื่อง Logistic เเต่ผู้เข้าอบรมทุกท่านก็สามารถยกกรณีศึกษาที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาเเลกเปลี่ยนกันได้ดีครับ
                                                                     จีระ หงส์ลดารมภ์

 

หมายเลขบันทึก: 451712เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปการบรรยายวันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2554


ต้องจับประเด็นให้ได้ว่าศาสตร์และศิลป์ใช้ในการบริหารจัดการอย่างไร

ศาสตร์ คือ การบริหารทรัพยากรที่วัดได้เช่น การบริหารเงิน ต้นทุนต่ำ


ศิลป์ คือสิ่งที่มองไม่เห็น วัดไม่ได้

ยกตัวอย่าง เมื่อ 20 ปีที่แล้วการให้ค่าจ้างเพิ่มก็จะทำงานมาขึ้น แต่ตอนนี้ต้องมี ความคิดสร้างสรรค์ ความสุขกับการทำงาน

ในอดีตเป็นคนทำวานทางด้าน
HR ถ้าเป็นศาสตร์ เช่น รับคน, ฝึกคน, จ่ายเงินเดือนคน แต่ตอนนี้ HR ต้องทำให้คนมีความคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุขในการทำงาน

Logistic ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์
ศาสตร์สามารถฝึกได้ ศึกษาจากองค์กรของท่านว่ามีงานอะไรบ้างที่ประสบความสำเร็จทั้งศาสตร์และศิลป์


ยกตัวอย่าง Brain ของมนุษย์มีทั้งศาสตร์และศิลป์ทางด้านซ้ายเป็นศาสตร์ ทางด้านขาวเป็นศิลป์ เพื่อให้เราคิดเป็นระบบ (System Thinking) ถ้าเราจะเป็นเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์เราสามารถฝึกได้


ยกตัวอย่าง องค์กร Yahoo, Micro Soft, Face Book ให้ศิลป์มากกว่า 90% ในประเทศไทยเรื่อง Logistic ยังมีช่องว่างในที่จะหาโอกาสอีกเยอะ


Natural Science, Physical Science เป็นศาสตร์ Social Science ก็เป็นศาสตร์ แต่ว่าสังคมศาสตร์ที่ดีต้องเป็นศิลป์ด้วยเพราะว่าเรื่องมนุษย์บางอย่างวัดได้ การที่มีศิลปะมากแต่เครื่องมือในการวิเคราะห์ไม่มี ก็ไม่ได้เหมือนกัน

สิ่งที่วัดได้ และ วัดไม่ได้ในการบริหารจัดการ (Tangible and Intangible)

HR ยุคใหม่ใช้ศิลป์ 80% ศาสตร์ 20%


ยกตัวอย่าง จีน อีกไม่นานจะเกิดฟองสบู่แตกเพราะตอนนี้คนมาลงทุนเรื่องอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและคาดไม่ถึง การเปิดเสรีอาเซียน ทำให้ของ Logistic มีคู่แข่งมหาศาลเพราะมีการเคลื่อนย้ายคนเก่งมาแข่งกับคุณได้ แต่คุณภาพของคนในเมืองไทยไม่ดีมีทุนทางปัญญาต่ำ

เราต้องบริการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เราต้องหาช่องทางเพื่อให้อยู่รอดในอนาคต ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด
การสร้าง Networking เป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้


จิตนาการสำคัญกว่าความรู้ การขับเคลื่อนความเป็นเลิศต้องคิดแตกต่างจากคนอื่น


เก่งลึก..โง่กว้าง ลึกเป็นศาสตร์กว้างเป็นศิลป์


Logistic สำคัญ คือเรื่อง Information ตอนนี้การขนส่งใหญ่ๆไม่คุ้มแล้วในอนาคตจะมีการขนส่งความรู้เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัย IT Base

เราต้องพึ่งพาธุรกิจ Logistic เป็นสินค้าบริการ ในอนาคตมีคน predict ไว้ว่าเราจะเป็นศูนย์กลาง logistic ของภูมิภาคกับจีน ต้องมีการพัฒนาเรื่องภาษาและการบริหารจัดการให้ดี การบริหารจัดการที่ดีจะสามารถต้นทุนได้

Corruption ในประเทศไทยส่งผลกระทบถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของ Logistic

เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าถือว่าเป็นศาสตร์ ข้อมูลใน Logistic เป็นข้อมูลที่เร็วมาก เราต้องเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มองระยะยาว เลือกการดำเนินชีวิตที่ไม่เบียดเบียนสังคม

  • ความสมดุลเป็นศาสตร์
  • ความพอประมาณเป็นศิลป์
  • ภูมิคุ้มกัน คือการบริหารหารเปลี่ยนแปลง คิดให้เป็นยุทธศาสตร์
  • มีความรู้ เป็นศาสตร์
  • มีคุณธรรม เป็นศิลป์
  • ยั่งยืน เป็นศิลป์
  • มีเหตุมีผล เป็นศาสตร์

8 K’s 5K’s

  • ทุนมนุษย์ เป็นศาสตร์ คือสามารถวัดได้ คนที่เรียนตรีโท มีความรู้ดีกว่ามัธยม
  • ทุนทางปัญญา เป็นศิลป์ เราสามารถคิดเป็นหรือเปล่า
  • ทุนจริยธรรม เป็นศิลป์เพราะวัดไม่ได้ สอนกันยาก
  • ทุนแห่งความสุข เป็นศิลป์ สุขภาพดี passion purpose มีความสำคัญกับชีวิต
  • ทุนทางสังคม เป็นศิลป์เพราะการที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ก็คือมาจากการสร้าง network
  • ทุนยั่งยืน การตัดสิ้นใจวันนี้ต้องไม่ทำลายระยะยาวเพราะอนาคต logistic มีความเสี่ยงมาก
  • IT เป็นศาสตร์ที่จำเป็นในการหาความรู้ในยุคนี้
  • ทุนทางความรู้ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะถ้าเก่งแต่ไม่มีทัศนะที่ดีก็ไม่ดีต้อองค์กร
  • ความคิดสร้างสรรค์ เป็นศาสตร์และศิลป์เพราะเกิดจากความคิดที่เป็นระบบ คิดนอกกรอบแต่ต้องทำการบ้าง ต้องมีข้อมูลก่อนเพื่อให้กลายเป็นสิ่งเพ้อฝัน
  • ความรู้ เป็นศาสตร์
  • นวัตกรรม คือการเอาความรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปทำ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
         logistic ยุคใหม่ต้องมีProduct ใหม่ๆ
  • ทุนทางอารมณ์ คือ ศิลป์
  • ทุนทางวัฒนธรรม คือศาสตร์และศิลป์

  • ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นโอกาสที่ดีของคนไทย
  • มีช่องว่างปรับปรุงได้มาก
  • ต้องไม่ให้ต่างประเทศมาครอบงำ
  • ผมได้สัมผัสกับพนักงานโลจิสติกส์ 3 ชั่วโมง ได้พบว่า คุณภาพของทุนมนุษย์ระดับนี้ใช้ได้ดีมาก และผมจะไปพูดอีก 1 ครั้งในวันที่ 27 สิงหาคมนี้ครับ
  • ครั้งที่แล้วได้พูดเรื่องศาสตร์และศิลป์ และได้มีข้อมูลใน www.chiraacademy.com มีผู้สนใจคลิ๊กเข้าไปกว่า 1,000 คน
  • ถ้ามีการพัฒนาทุนมนุษย์แบบนี้ อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยก็น่าจะมีการพัฒนาที่ดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท